ประวัติสามก๊ก อองเป๋ง จื่ออวิ๋น
บรรดาขุนพลชื่อดังในเรื่องสามก๊กนั้น มีสิ่งหนึ่งที่มีจุดร่วมกัน ซึ่งที่จริงไม่ใช่แต่เฉพาะในยุคสามก๊ก แต่ยังรวมถึงขุนพลในยุคต่างๆด้วย นั่นคือต่างต้องมีความรู้ในตำราพิชัยสงคราม
ขุนพลที่มีฝีมือเก่งกาจ แล้วไม่เคยศึกษาพิชัยสงครามก็ยังพอมีอยู่ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเหล่าขุนพลที่เน้นการใช้พละกำลังเป็นหลัก เช่นพวกองครักษ์จอมพลังทั้งหลาย แต่โดยปกติหากเป็นขุนพลที่ต้องนำกองทัพ พาทหารของตนไปสู้ศึกแล้วจำต้องเรียนรู้ในสิ่งนี้ เพราะหากขุนพลคนนั้นไม่มีความรู้ในพิชัยสงคราม ก็คงยากที่เหล่าทหารจะกล้าติดตามหรือเจ้านายคนใดจะใช้งานได้
แต่ในหมู่ขุนพลเหล่านั้นมีคนหนึ่งที่ไม่ได้มีโอกาสร่ำเรียนตำราพิชัยสงคราม ไม่เคยเรียนหนังสือจริงๆจังๆ แต่กลับสามารถสร้างชื่อขึ้นมาเป็นขุนพลคนสำคัญที่มีความเชี่ยวชาญในการวางกลศึกในช่วงที่สามก๊กเริ่มแบ่งขั้วอำนาจได้ และความเจนจัดในเรื่องกลศึกและการทำสงครามของเขายังจะเหนือกว่าขุนพลที่เอาแต่ศึกษาพิชัยสงครามอย่างเดียวซะอีก อย่างที่พอจะกล่าวได้ว่า การลงสนามได้เจอกับสงครามจริงๆนั้น เป็นประสบการณ์ที่มีค่ายิ่งกว่าการศึกษาตำราพิชัยสงครามอยู่บนกระดาษ ซึ่งคำพูดนี้พ้องกับขุนพลคนหนึ่งของจ๊กก๊กได้พอดี
ประวัติโดยย่อ
อองเป๋ง หรือหวางผิง ชื่อรองจื่ออวิ๋น เป็นชาวอำเภอตั้งฉวี เมืองปาซี ปีเกิดไม่ทราบแน่ชัด ประวัติในวัยเด็กเล่าว่าเกิดในครอบครัวยากจนข้นแค้น มีชีวิตที่ลำบากมาก จึงสมัครเข้ามาเป็นพลทหารเพื่อหวังจะให้ครอบครัวและตนเองมีชีวิตอยู่ได้
อองเป๋งปรากฏตัวครั้งแรกในหนังสือสามก๊กเมื่อตอนที่โจโฉทำศึกฮั่นจงกับเล่าปี่แล้วเสียทีแก่จูล่ง ฮองตง ต้องเสียทุ่งฮันซุยซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญในการตั้งค่ายและกองเสบียงไป โจโฉเจ็บใจมากจึงคิดจะหาทางเอาทุ่งฮันซุยคืนมา จึงตั้งซิหลงให้เป็นทัพหน้า และกำลังวางแผนปรึกษากันว่าจะทำเช่นไร
ตอนนั้นเองมีนายทหารหนุ่มผู้หนึ่ง ได้เข้ามาเรียนต่อโจโฉว่าตนเป็นผู้ที่รู้จักภูมิประเทศแถบนี้ดี และยังมีความรู้ในเรื่องการจัดตั้งค่าย รู้ว่าควรทำเช่นไรจึงจะส่งผลแพ้ชนะ สามารถจะช่วยซิหลงในการรบครั้งนี้ได้ นายทหารหนุ่มผู้นี้ก็คืออองเป๋ง ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็น หยาเหมินเจียงกุน (นายพลผู้รักษาประตูค่าย) ซึ่งก็คือตำแหน่งของนายทหารผู้มีหน้าที่ดูแลและรักษาความสงบของค่ายหลวง
แน่นอนว่านายทหารระดับนี้ การจะไต่เต้าขึ้นมาย่อมมีความสามารถ ตัวอองเป๋งซึ่งไม่เคยเรียนหนังสือจริงๆจังๆ รู้หนังสือแค่พออ่านออกเขียนได้เท่านั้นกลับสามารถได้ตำแหน่งสำคัญเช่นนี้ แสดงว่าย่อมต้องมีความสามารถ และไหวพริบไม่ธรรมดา โจโฉชอบใจที่รู้ว่ามีคนที่เชี่ยวชาญในเขตภูมิประเทศแถบนี้อยู่ จึงตั้งให้อองเป๋งเป็นทัพหน้าทหารซ้าย คอยช่วยให้คำปรึกษาแก่ซิหลง
เมื่อทัพใหญ่ของโจโฉยกทัพออกมาที่เขาเตงกุนสันทางทิศเหนือ ซิหลงกับอองเป๋งก็ล่วงนำทัพหน้าออกมาตั้งที่ทุ่งฮันซุย ซึ่งปัญหาคือทั้งสองต้องการจะล่วงข้ามไปตั้งค่ายที่ฝั่งตรงข้าม แต่ทัพของพวกเล่าปี่นำโดยจูล่งและฮองตงก็ขัดขวางอยู่ ทั้งสองจึงปรึกษาหนทางกัน
ซิหลงต้องการจะข้ามฝั่งไปตั้งค่ายรับริมน้ำ โดยอ้างถึงศึกในสมัยที่เล่าปังรบกับเซี่ยงหยี่ว่า หันซิ่นแม่ทัพของเล่าปังเคยเผชิญสถานการณ์เช่นนี้ แล้วก็ยกทัพข้ามฝั่งไปตั้งค่ายรับริมน้ำโดยที่ศัตรูไม่อาจขัดขวางและได้เอาชัยมาแล้ว ซิหลงคิดว่าในเมื่อหันซิ่นเคยทำมาก่อน แล้วตนจะกลัวอะไร
แต่อองเป๋งทัดทานว่าครั้งนั้นทัพของหันซิ่นมีกำลังใจที่ดี ฝ่ายของเซี่ยงหยี่นั้นพวกทหารพากันอิดโรย จึงไม่อาจขัดขวางการตั้งค่ายของหันซิ่น แต่ว่าครั้งนี้กำลังของข้าศึกเช่นจูล่งและฮองตงจะมีสภาพเช่นใดเราก็ไม่ทราบ แถมพวกเขาเพิ่งจะรบชนะพวกเรา ยึดเขาเสียนทองสันและทุ่งฮันซุยมาได้ กำลังใจและความฮึกเหิมเต็มเปี่ยม จูล่งกับฮองตงก็มีความรอบรู้และเชี่ยวชาญในกลยุทธ์ แตกต่างกับเซี่ยงหยี่ที่มุ่งแต่จะใช้กำลังของตนอย่างเดียว จึงเห็นว่าไม่ควรจะบุ่มบ่ามไป
แต่ซิหลงไม่สนใจคำทัดทานของอองเป๋งและสั่งให้เขานำทหารไปเฝ้าค่ายที่ด้านตะวันออก ส่วนตัวเองนำทหารไปสร้างสะพานเพื่อข้ามฝั่งตั้งค่ายที่ฝั่งตรงข้าม
จูล่งกับฮองตงทราบข่าวการบุกของซิหลงก็ปรึกษากลยุทธ์กัน โดยฮองตงเสนอว่าการยกทัพมาครั้งนี้ ซิหลงมาอย่างฮึกเหิม ด้วยความที่ไม่สนใจอันตรายกล้าข้ามมาตั้งค่ายที่ฝั่งตรงข้าม หากเรารอให้ฝ่ายนั้นเหนื่อยล้าแล้วค่อยเข้าตีกระหนาบจากสองด้านน่าจะเอาชัยได้ จูล่งเห็นด้วยจึงแยกย้ายกันไปตั้งค่าย จัดทัพเตรียมทำตามแผน
รุ่งขึ้นซิหลงนำทัพออกมาท้ารบจูล่ง แต่จูล่งปิดค่ายมิดชิด ไม่ยอมออกมาสู้ด้วย ไม่ว่าซิหลงจะร้องท้าแค่ไหนก็ไม่ออกมา ซิหลงทนไม่ไหวจึงสั่งระดมยิงธนูเข้าไปหน้าค่าย จูล่งก็อดทนรอไว้ ฮองตงจึงเสนอว่าศัตรูระดมยิงมาแบบนี้แสดงว่าเริ่มอดทนไม่ไหว อาจจะเป็นโอกาสดีที่จะเข้าตี แล้วม้าเร็วก็มาแจ้งว่าทัพของซิหลงเริ่มหันถอนทัพกลับไป จูล่งกับฮองตงจึงสั่งให้ตีกลองโห่ร้อง แล้วนำทัพออกตีกระหน่ำทัพซิหลง ซิหลงรีบตั้งตัวเพื่อตอบโต้ แต่จูล่งกับฮองตงแบ่งทัพเป็นสองสายเข้าตีกระหนาบ ซิหลงตั้งตัวไม่ติดและต้องถอยร่นไปถึงแม่น้ำฮันซุย เสียทหารไปมากมาย ตัวของซิหลงหนีกลับเข้ามาค่ายพักได้
เมื่อมาถึงก็ต่อว่าอองเป๋งว่าทำไมจึงไม่ยกทัพออกไปช่วย อองเป๋งบอกว่าหากยกออกไปแล้ว ถ้าศัตรูลอบส่งทัพเข้ามาโจมตีค่าย แล้วใครจะป้องกัน นอกจากนี้ตัวเขาก็ได้ทัดทานซิหลงไปแล้ว จะมาว่าเขาได้ยังไง ซิหลงโกรธจัด คิดจะสังหารอองเป๋ง แต่ก็ยั้งใจไว้ อองเป๋งคิดว่าแม้เรื่องนี้เขาจะเป็นฝ่ายถูก แต่ตอนที่รายงานไปให้โจโฉ ซิหลงก็คงจะหาเหตุเล่นงานเขา นอกจากนี้ซิหลงก็เป็นทหารคนสนิทของโจโฉที่ออกรบร่วมกันมานาน ถึงอย่างไรโจโฉก็คงไม่เอาโทษนัก คนที่จะลำบากน่าจะเป็นตัวเขามากกว่า
คืนนั้นอองเป๋งจึงตัดสินใจสั่งให้ทหารตนแอบเผาค่าย ซิหลงคิดว่าเป็นแผนของข้าศึกจึงรีบถอยหนี แล้วอองเป๋งก็พาทหารตนจำนวนหนึ่งข้ามฝั่งไปสวามิภักดิ์ต่อจูล่ง
จูล่งพาตัวอองเป๋งไปเข้าพบเล่าปี่ เขาจึงแจ้งว่าตนเองเป็นผู้ที่รู้จักภูมิประเทศแถบนี้ดี ทำให้เล่าปี่ยินดีมากที่ได้ตัวอองเป๋งมา และตั้งให้เขาเป็น “เพียนเจียงกุน” (ขุนนางผู้นำทาง) และมีส่วนช่วยฝ่ายเล่าปี่ในแง่ของการข่าวสารในดินแดนแถบฮั่นจงพอสมควร แต่บทบาทนี้ไม่ได้มีบันทึกเด่นชัดในนิยายสามก๊กเท่าใดนักว่าเขาทำอะไรบ้าง แต่การที่เล่าปี่มีความยินดีที่ได้เขามาแสดงว่าอองเป๋งต้องมีความสำคัญไม่น้อยเลย
ชื่อของอองเป๋งหายไปจากสามก๊กอยู่นานก็กลับมาอีกครั้งในปีค.ศ.228 เมื่อขงเบ้งนำทัพออกศึกที่กิสานครั้งที่ 1 เพื่อตีฝ่ายวุยก๊กที่ขณะนั้นมีโจจิ๋นเป็นแม่ทัพใหญ่ การบุกก่อนหน้านั้นฝ่ายขงเบ้งตีเอาชัยชนะมาได้ตลอดทาง จนโจยอยต้องมีคำสั่งด่วนให้ตามตัวสุมาอี้มาเป็นแม่ทัพทั้งที่ยังไม่วางใจสุมาอี้นัก
ในศึกนี้ถูกเรียกว่าศึกเกเต๋ง โดยขงเบ้งได้บุกเข้าทางด้านอำเภอเกเต๋งนี้เพราะเป็นอำเภอที่อยู่ไม่ไกลจากแถบกวนจง มณฑลซานซี ซีงเมื่อเดินทัพไปทางตะวันออกไม่นานก็จะโอบหลังเข้าเมืองเตียงฮันได้ โดยขงเบ้งวางแผนที่จะเข้ายึดกวนจงเป็นฐานที่มั่น แล้วค่อยเข้ายึดตงง้วนทีหลัง
การศึกนี้โจยอยซึ่งขณะนั้นเป็นฮ่องเต้สืบต่อจากโจผี ได้นำทัพมาตั้งยันอยู่ที่เตียงฮันด้วยตัวเอง และให้โจจิ๋นเป็นแม่ทัพใหญ่ เตียวคับเป็นทัพหน้าออกศึกกับขงเบ้ง
แผนการที่ขงเบ้งวางไว้นั้นจะให้กองทัพหน้าเข้าตั้งค่ายที่เกเต๋ง ซึ่งจะใช้เป็นฐานสำคัญ ดังนั้นคนที่จะมารับหน้าที่นี้จะต้องเป็นแม่ทัพที่ไว้ใจได้ ตอนนั้นภายในทัพของจ๊กก๊กเสียแม่ทัพที่เก่งๆเช่น 5 ทหารเสือไปหมดแล้ว คนที่เก่งที่สุดที่อยู่ในตอนนั้นคืออุยเอี๋ยนซึ่งรับหน้าที่เป็นทัพเข้าจู่โจม ดังนั้นจึงต้องเลือกเอาจากคนที่เหลือ
ม้าเจ๊กทำการเสนอตัวเอง ขออาสารับงานสำคัญครั้งนี้ ซึ่งก่อนอื่นต้องเล่าเท้าความถึงม้าเจ๊กคนนี้ก่อนว่าเขาเป็นคนสนิทมือขวาของขงเบ้งที่ติดตามกันมาตั้งแต่สมัยอยู่เกงจิ๋ว ม้าเจ๊กนั้นเป็นลูกหลานของตระกูลม้าซึ่งเป็นตระกูลใหญ่ที่อยู่ในเกงจิ๋ว พี่ชายของเขาคือม้าเลี้ยงนั้นเป็นขุนนางที่มีความรู้ความสามารถ ช่วยเหลืองานบริหารในยุคที่เพิ่งตั้งจ๊กก๊กได้ดี ตัวม้าเจ๊กเองก็เป็นบัณฑิตหนุ่มที่ศึกษาหาความรู้มามากและรอบรู้ในตำราพิชัยสงครามชนิดที่ขงเบ้งยังยกย่อง
แต่ม้าเจ๊กนี้มีข้อเสียตรงที่เป็นคนอวดรู้ อาจเพราะด้วยความที่เรียนมาสูงมากจึงทำให้มีความเชื่อมั่นในตัวเองว่าเก่งกาจเหนือคนอื่นๆ จะว่าไปลักษณะแบบนี้ก็เหมือนผู้คนในยุคปัจจุบัน เมื่อลงมองดูผู้ที่ร่ำเรียนมาในระดับสูงมักจะคิดว่าตัวเองเก่งกาจและแน่กว่าใครๆ ที่จริงแล้วสำหรับทหารความเชื่อมั่นในตัวเองเป็นสิ่งที่ดี โดยเฉพาะม้าเจ๊กซึ่งเป็นนักวางแผนที่แผนการรบแต่ละครั้งย่อมส่งผลต่อชีวิตคนมหาศาล ดังนั้นหากไม่เชื่อมั่นในแผนการของตนเองแล้ว ก็ไม่อาจจะเป็นเสนาธิการที่ดีได้ แต่เพราะความมั่นใจรวมกับความที่มีคารมคมคายที่เกินพอดี ส่งผลให้เขากลายเป็นคนที่ดูโอ้อวดเกินจริง ลักษณะของเขาจะคล้ายๆกับกุนซือของวุยคนหนึ่งนั่นคือเอียวสิ้วที่มีมันสมองระดับอัจฉริยะ รอบรู้สารพัด แต่ว่าแสดงความอวดรู้มาเกินไป ซึ่งม้าเจ๊กนั้นยังหนักกว่าเอียวสิ้วตรงที่ความเชื่อมั่นเกินเหตุของเขานี้มันเป็นความเชื่อมั่นที่ผิด
มีเกร็ดน่าสนใจตรงที่ขงเบ้งเคยพาม้าเจ๊กไปเข้าเฝ้าเล่าปี่ที่เป๊กเต้เสียซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เล่าปี่ป่วยหนักใกล้ตาย ตอนนั้นเล่าปี่สั่งงานฝากฝังเรื่องราวต่างๆกับขงเบ้งและขุนนางมากมาย ขงเบ้งจึงถือโอกาสพาม้าเจ๊กเข้าเฝ้า ซึ่งขงเบ้งก็กล่าวชื่นชมในความรู้ของม้าเจ๊กมาก
แต่เล่าปี่กลับกล่าวว่าม้าเจ๊กผู้นี้ชอบพูดจาเกินจริง ไม่ควรให้ทำการใหญ่ นี่คือการวิจารณ์ของเล่าปี่ที่มีต่อม้าเจ๊กในช่วงที่ตัวเองใกล้ตาย และมันก็ถูกจริงๆซะด้วย ขงเบ้งเองก็รับฟังไว้ แต่แน่นอนว่าความชอบส่วนตัวที่มีต่อม้าเจ๊กซึ่งรักผูกพันกันมาเหมือนน้องชายนั้น ย่อมทำให้ขงเบ้งทำเป็นไม่สนใจคำเตือนของขงเบ้งนี้
ที่จริงขงเบ้งเองก็ไม่ได้ใช้ม้าเจ๊กให้ทำงานสำคัญอะไรเท่าไหร่ ส่วนหนึ่งคงจะนึกถึงคำเตือนของเล่าปี่อยู่เหมือนกัน แต่ก่อนที่จะเกิดศึกฮั่นจงนั้น ขงเบ้งได้นำทัพปราบทางใต้ ม้าเจ๊กได้เสนอแนะการโจมตีทางใจ ให้ทำการสยบพวกหมานโดยราบคาบในการยกทัพครั้งนั้น เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียเวลาและกำลังพลคอยทำการปราบพวกหมานอีก แม้ว่าหลังจากปราบเบ้งเฮ็ก ราชาของเผ่าหมานแล้วจะยังมีความไม่สงบเกิดขึ้นอยู่อีก เพราะพวกหมานบางส่วนก็ยังคงไม่ยอมสงบซึ่งตรงนี้ในนิยายและประวัติศาสตร์บันทึกไว้ต่างกัน แต่ในแง่ของหลักการและนโยบาย ถือว่าม้าเจ๊กสอบผ่าน ขงเบ้งจึงเริ่มจะเชื่อมั่นในตัวม้าเจ๊กมากขึ้น
ม้าเจ๊กเคยแสดงความน้อยเนื้อต่ำใจต่อขงเบ้งว่าพวกแม่ทัพนายกองและทหารในกองทัพยังคงไม่ยอมเชื่อมือตัวเอง เพราะถือว่าม้าเจ๊กนั้นไร้ประสบการณ์นำทัพ เขาเป็นกุนซือที่คอยวางแผนในกระโจม ไม่เคยคุมทหารออกศึกจริงมาก่อน แม้ว่าม้าเจ๊กจะอยากทำเพื่อชาติ แต่ในเมื่อทหารไม่ไว้ใจ ก็ยากจะทำได้ ตรงนี้น่าเห็นใจเพราะตัวเขาเองทางหนึ่งย่อมอยากจะสร้างชื่อ อีกทางหนึ่งก็อยากทำเพื่อบ้านเมือง ไม่ว่าจะส่วนตัวหรือส่วนรวม ม้าเจ๊กไม่อาจจะทำได้เลยเพียงเพราะเขาขาดประสบการณ์เท่านั้น เขาจึงร้องขอต่อขงเบ้งให้มอบหน้าที่สำคัญในการตั้งค่ายที่เกเต๋งนี้
ขงเบ้งย่อมอยากจะผลักดันให้ม้าเจ๊กทำงานสำคัญๆ แต่แรกเริ่มเขาไม่อยากจะมอบหมายงานนี้ม้าเจ๊ก แต่ด้วยความสนิทสนมและอยากจะผลักดันคนที่เปรียบดั่งน้องชายตนเอง จึงทำให้เขายอมมอบงานสำคัญนี้ให้ เพราะหวังว่าจะเป็นก้าวแรกให้ม้าเจ๊กสร้างความเชื่อมั่นในกองทัพ แต่ขงเบ้งกลับเลือกผิดเวลาไปหน่อย
ขงเบ้งกันพลาดด้วยการตั้งอองเป๋งเป็นรองแม่ทัพ คอยให้คำปรึกษาแก่ม้าเจ๊ก เพราะหวังว่าอองเป๋งที่มีประสบการณ์จะช่วยม้าเจ๊กได้ แต่นี่คือสิ่งที่ขงเบ้งยังไม่อาจทัดเทียมกับสามผู้นำ เล่าปี่ โจโฉ ซุนกวน ในเรื่องการมองคนและใช้งานคน
หากเป็นยุคปัจจุบัน อองเป๋งเปรียบเสมือนเจ้าหน้าที่ซึ่งมีประสบการณ์ผ่านงานจริงๆมาหลายปี หลายระดับ แต่ในเรื่องคุณวุฒิด้านการศึกษาแล้วถือว่าต่ำมาก ทำให้มีตำแหน่งการงานไม่สูงนัก ทั้งที่ทำงานสนามจริงมาหลายปี ส่วนม้าเจ๊กคือเจ้าหน้าที่หนุ่มไฟแรงที่จบการศึกษาในระดับสูง แต่ไม่เคยลงงานภาคปฏิบัติจริงๆ เคยทำแต่การสั่งงานอยู่บนโต๊ะ แต่มีตำแหน่งสูงกว่าเพราะมีคุณวุฒิสูง ลองนึกภาพคนทั้งสองดูแล้วคิดว่าม้าเจ๊กจะยอมทำตามคำแนะนำของอองเป๋งหรือเปล่า
ม้าเจ๊กนำกองทัพไปตั้งค่ายอยู่บนที่สูง โดยอ้างหลักพิชัยสงครามว่า “ตั้งอยู่บนที่สูงมองลงไป มีศักดานุภาพประดุจผ่าไม้ไผ่”
อองเป๋งทัดทานว่าไม่สมควรทำ เพราะหากค่ายถูกศัตรูล้อมรอบและตัดทางเสบียง ฝ่ายเราจะหมดทางหนีทันที แต่ว่าม้าเจ๊กไม่ฟังและยืนยันทำตามแผน
นี่คือความผิดพลาดเรื่องการใช้คนให้เหมาะกับงานของขงเบ้ง อองเป๋งเป็นคนที่มีบุคลิกเงียบขรึม ดูแล้วไม่มีความห้าวหาญในแบบแม่ทัพเลย แถมเขาไม่ใช่คนที่ติดตามเล่าปี่มาแต่ต้น แต่เป็นนายทหารที่มาสวามิภักดิ์ ผลงานก็ไม่ได้เด่นชัด ในขณะที่ม้าเจ๊กเป็นคนสนิทของขงเบ้ง ติดตามขงเบ้งมาตั้งแต่เกงจิ๋ว พี่ชายม้าเลี้ยงก็มีผลงานการบริหาร ตัวเองก็เคยเสนอแผนการปราบเผ่าหมานมาแล้ว บารมีย่อมมากกว่าอองเป๋งมากมาย จึงไม่มีทางเลยที่ม้าเจ๊กจะยอมทำตามคำแนะนำของอองเป๋ง
และก็เป็นตามที่อองเป๋งคาด ทัพฝ่ายวุยซึ่งนำโดยสุมาอี้ (ประวัติศาสตร์ว่าเป็นเตียวคับ) ยกทัพหน้าเข้ามาแบบสายฟ้า และทำการปิดล้อมค่าย ตัดทางเสบียงของม้าเจ๊กไว้ ยังดีที่อองเป๋งนำทหารซุ่มอีกกองไว้ดานนอกจึงตีฝ่าพาม้าเจ๊กหนีกลับมาได้ แต่การศึกครั้งนั้นที่ต้องเสียเกเต๋งไปก็ทำให้การใหญ่ทั้งหมดของขงเบ้งพังพินาศหมด
ม้าเจ๊กเหมาะอย่างยิ่งที่จะเป็นเสนาธิการทหารคอยให้คำแนะนำ อองเป๋งจะเหมาะมากที่จะให้เป็นนายทหารคุมกองทัพไปทำภารกิจที่ต้องอาศัยความอดทน หนักแน่น และการใช้ไหวพริบแก้สถานการณ์เฉพาะหน้า แต่ขงเบ้งกลับใช้งานทั้งคู่ในรูปแบบที่ผิดไป เหมือนที่อองเป๋งเคยเป็นที่ปรึกษาให้ซิหลงแล้วซิลงไม่เชื่อจนพ่ายศึกมาแล้ว ซึ่งเรื่องครั้งนั้นถือเป็นความผิดพลาดของซิหลงเต็มตัวที่ไม่ยอมเชื่อคำของนายทหารนำทางที่เชี่ยวชาญภูมิประเทศ ตัวโจโฉเองหากรู้ว่าที่อองเป๋งไปสวามิภักดิ์เล่าปี่ เป็นเพราะซิหลงไม่ยอมเชื่อคำอองเป๋ง เขาก็คงจะโกรธซิหลงมาก
จะเห็นว่าทั้งซิหลงและม้าเจ๊กที่ไม่เชื่ออองเป๋งนั้น ต่างอ้างหลักพิชัยสงครามขึ้นมาใช้ทั้งนั้น อองเป๋งเป็นคนที่ไม่ได้ศึกษาพิชัยสงครามมา ไม่มีอะไรจะเอาไปอ้างได้ นับว่ากรณีนี้น่าเห็นใจ
หลังจากศึกนี้เป็นต้นมา แม้ว่าจะพ่ายแพ้ แต่ฐานะของอองเป๋งก็ได้รับการยอมรับในกองทัพมากขึ้น ส่วนม้าเจ๊กก็ต้องถูกขงเบ้งประหารทั้งน้ำตา
อองเป๋งยังคงติตามขงเบ้งออกศึกกิสานทั้งหกครั้ง และเป็นหนึ่งในแม่ทัพคนสำคัญของขงเบ้ง จนกระทั่งขงเบ้งตายลง การบรารจ๊กก๊กตกอยู่ในมือของเจียวอ้วน บิฮุย และเกียงอุย สามเสาหลัก ตัวอองเป๋งได้รับหน้าที่ให้เป็นผู้ดูแลรักษาเมืองฮั่นจงแทนอุยเอี๋ยนที่ตายไป
อองเป๋งอยู่เฝ้ารักษาเมืองฮั่นจงอันเป็นหน้าด่านสำคัญที่สุดของจ๊กก๊ก โดยที่ไม่เคยปล่อยศัตรูล่วงล้ำเข้ามาได้เลยสักครั้ง นับว่าทำหน้าที่ได้อย่างไม่บกพร่อง จนเมื่อปี ค.ศ.245 เป็นเวลา 11ปีหลังจากขงเบ้งตายลง โจซองแห่งวุยคิดจะยกทัพบุกจ๊กก๊ก จึงยกทัพนับแสนมา ส่วนเมืองฮั่นจงมีทหารเฝ้าเพียงสามหมื่น ทำให้เหล่าทหารและขุนนางต่างพากันตกใจกลัว และปรึกษากับอองเป๋ง โดยคิดว่าควรจะละทิ้งเมืองฮั่นจงกลับไปตั้งรับในด่านกิก๊ก แต่อองเป๋งกล่าวว่าตอนที่พระเจ้าเล่าปี่ตั้งให้อุยเอี๋ยนดูแลเมืองฮั่นจง ได้สั่งให้อุยเอี๋ยนใช้ภูมิประเทศที่เป็นเขาสูงสลับซับซ้อนให้เป็นประโยชน์ และตลอดเวลาที่อุยเอี๋ยนเฝ้าฮั่นจง ก็ไม่เคยทำหน้าที่บกพร่องสักครั้ง ว่าแล้วอองเป๋งก็จัดทหารให้เฝ้าเมืองอย่างมั่นคง ต้านรับการบุกของโจซองอย่างสุดกำลัง ในที่สุดก็สามารถยันจนทัพหนุนจากเมืองหลวงยกมาช่วยได้ ศึกนั้นฝ่ายจ๊กก๊กจึงสามารถไล่ตีทัพวุยของโจซองจนพ่ายแพ้กลับไป
อองเป๋งเฝ้ารักษาเมืองฮั่นจงนานถึง 14 ปีโดยไม่เคยผิดพลาด และจากนั้นก็เสียชีวิตลงอย่างสงบในปี ค.ศ. 248 ตำแหน่งสุดท้ายที่เขาได้รับคือ “เจิ้นเป่ยต้าเจียงจวิน” (มหาขุนพลปราบภาคเหนือ)
นับว่าเป็นขุนพลคนสำคัญที่ช่วยปกป้องจ๊กก๊กมาได้ตลอดรอดฝั่ง โดยอาศัยไหวพริบ ประสบการณ์ และความหนักแน่นมั่นคงมากกว่าเรื่องของฝีมือการรบพุ่ง และสร้างชื่อโด่งดังติดทำเนียบขุนพลในสามก๊กยุคหลังได้ ทั้งๆที่ถูกหาว่าเป็นขุนพลที่ไม่รู้หนังสือแท้ๆ ถือว่าเป็นกรณีพิเศษสำหรับขุนพลคนหนึ่งที่ยากจะทำได้แบบนี้ นั่นทำให้เขาถูกตั้งฉายาจากสามก๊กทุกฉบับว่าเป็น “ขุนพลผู้ไม่รู้หนังสือ”
อองเป๋ง
บรรดาขุนพลชื่อดังในเรื่องสามก๊กนั้น มีสิ่งหนึ่งที่มีจุดร่วมกัน ซึ่งที่จริงไม่ใช่แต่เฉพาะในยุคสามก๊ก แต่ยังรวมถึงขุนพลในยุคต่างๆด้วย นั่นคือต่างต้องมีความรู้ในตำราพิชัยสงคราม
ขุนพลที่มีฝีมือเก่งกาจ แล้วไม่เคยศึกษาพิชัยสงครามก็ยังพอมีอยู่ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเหล่าขุนพลที่เน้นการใช้พละกำลังเป็นหลัก เช่นพวกองครักษ์จอมพลังทั้งหลาย แต่โดยปกติหากเป็นขุนพลที่ต้องนำกองทัพ พาทหารของตนไปสู้ศึกแล้วจำต้องเรียนรู้ในสิ่งนี้ เพราะหากขุนพลคนนั้นไม่มีความรู้ในพิชัยสงคราม ก็คงยากที่เหล่าทหารจะกล้าติดตามหรือเจ้านายคนใดจะใช้งานได้
แต่ในหมู่ขุนพลเหล่านั้นมีคนหนึ่งที่ไม่ได้มีโอกาสร่ำเรียนตำราพิชัยสงคราม ไม่เคยเรียนหนังสือจริงๆจังๆ แต่กลับสามารถสร้างชื่อขึ้นมาเป็นขุนพลคนสำคัญที่มีความเชี่ยวชาญในการวางกลศึกในช่วงที่สามก๊กเริ่มแบ่งขั้วอำนาจได้ และความเจนจัดในเรื่องกลศึกและการทำสงครามของเขายังจะเหนือกว่าขุนพลที่เอาแต่ศึกษาพิชัยสงครามอย่างเดียวซะอีก อย่างที่พอจะกล่าวได้ว่า การลงสนามได้เจอกับสงครามจริงๆนั้น เป็นประสบการณ์ที่มีค่ายิ่งกว่าการศึกษาตำราพิชัยสงครามอยู่บนกระดาษ ซึ่งคำพูดนี้พ้องกับขุนพลคนหนึ่งของจ๊กก๊กได้พอดี
ประวัติโดยย่อ
อองเป๋ง หรือหวางผิง ชื่อรองจื่ออวิ๋น เป็นชาวอำเภอตั้งฉวี เมืองปาซี ปีเกิดไม่ทราบแน่ชัด ประวัติในวัยเด็กเล่าว่าเกิดในครอบครัวยากจนข้นแค้น มีชีวิตที่ลำบากมาก จึงสมัครเข้ามาเป็นพลทหารเพื่อหวังจะให้ครอบครัวและตนเองมีชีวิตอยู่ได้
อองเป๋งปรากฏตัวครั้งแรกในหนังสือสามก๊กเมื่อตอนที่โจโฉทำศึกฮั่นจงกับเล่าปี่แล้วเสียทีแก่จูล่ง ฮองตง ต้องเสียทุ่งฮันซุยซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญในการตั้งค่ายและกองเสบียงไป โจโฉเจ็บใจมากจึงคิดจะหาทางเอาทุ่งฮันซุยคืนมา จึงตั้งซิหลงให้เป็นทัพหน้า และกำลังวางแผนปรึกษากันว่าจะทำเช่นไร
ตอนนั้นเองมีนายทหารหนุ่มผู้หนึ่ง ได้เข้ามาเรียนต่อโจโฉว่าตนเป็นผู้ที่รู้จักภูมิประเทศแถบนี้ดี และยังมีความรู้ในเรื่องการจัดตั้งค่าย รู้ว่าควรทำเช่นไรจึงจะส่งผลแพ้ชนะ สามารถจะช่วยซิหลงในการรบครั้งนี้ได้ นายทหารหนุ่มผู้นี้ก็คืออองเป๋ง ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็น หยาเหมินเจียงกุน (นายพลผู้รักษาประตูค่าย) ซึ่งก็คือตำแหน่งของนายทหารผู้มีหน้าที่ดูแลและรักษาความสงบของค่ายหลวง
แน่นอนว่านายทหารระดับนี้ การจะไต่เต้าขึ้นมาย่อมมีความสามารถ ตัวอองเป๋งซึ่งไม่เคยเรียนหนังสือจริงๆจังๆ รู้หนังสือแค่พออ่านออกเขียนได้เท่านั้นกลับสามารถได้ตำแหน่งสำคัญเช่นนี้ แสดงว่าย่อมต้องมีความสามารถ และไหวพริบไม่ธรรมดา โจโฉชอบใจที่รู้ว่ามีคนที่เชี่ยวชาญในเขตภูมิประเทศแถบนี้อยู่ จึงตั้งให้อองเป๋งเป็นทัพหน้าทหารซ้าย คอยช่วยให้คำปรึกษาแก่ซิหลง
เมื่อทัพใหญ่ของโจโฉยกทัพออกมาที่เขาเตงกุนสันทางทิศเหนือ ซิหลงกับอองเป๋งก็ล่วงนำทัพหน้าออกมาตั้งที่ทุ่งฮันซุย ซึ่งปัญหาคือทั้งสองต้องการจะล่วงข้ามไปตั้งค่ายที่ฝั่งตรงข้าม แต่ทัพของพวกเล่าปี่นำโดยจูล่งและฮองตงก็ขัดขวางอยู่ ทั้งสองจึงปรึกษาหนทางกัน
ซิหลงต้องการจะข้ามฝั่งไปตั้งค่ายรับริมน้ำ โดยอ้างถึงศึกในสมัยที่เล่าปังรบกับเซี่ยงหยี่ว่า หันซิ่นแม่ทัพของเล่าปังเคยเผชิญสถานการณ์เช่นนี้ แล้วก็ยกทัพข้ามฝั่งไปตั้งค่ายรับริมน้ำโดยที่ศัตรูไม่อาจขัดขวางและได้เอาชัยมาแล้ว ซิหลงคิดว่าในเมื่อหันซิ่นเคยทำมาก่อน แล้วตนจะกลัวอะไร
แต่อองเป๋งทัดทานว่าครั้งนั้นทัพของหันซิ่นมีกำลังใจที่ดี ฝ่ายของเซี่ยงหยี่นั้นพวกทหารพากันอิดโรย จึงไม่อาจขัดขวางการตั้งค่ายของหันซิ่น แต่ว่าครั้งนี้กำลังของข้าศึกเช่นจูล่งและฮองตงจะมีสภาพเช่นใดเราก็ไม่ทราบ แถมพวกเขาเพิ่งจะรบชนะพวกเรา ยึดเขาเสียนทองสันและทุ่งฮันซุยมาได้ กำลังใจและความฮึกเหิมเต็มเปี่ยม จูล่งกับฮองตงก็มีความรอบรู้และเชี่ยวชาญในกลยุทธ์ แตกต่างกับเซี่ยงหยี่ที่มุ่งแต่จะใช้กำลังของตนอย่างเดียว จึงเห็นว่าไม่ควรจะบุ่มบ่ามไป
แต่ซิหลงไม่สนใจคำทัดทานของอองเป๋งและสั่งให้เขานำทหารไปเฝ้าค่ายที่ด้านตะวันออก ส่วนตัวเองนำทหารไปสร้างสะพานเพื่อข้ามฝั่งตั้งค่ายที่ฝั่งตรงข้าม
จูล่งกับฮองตงทราบข่าวการบุกของซิหลงก็ปรึกษากลยุทธ์กัน โดยฮองตงเสนอว่าการยกทัพมาครั้งนี้ ซิหลงมาอย่างฮึกเหิม ด้วยความที่ไม่สนใจอันตรายกล้าข้ามมาตั้งค่ายที่ฝั่งตรงข้าม หากเรารอให้ฝ่ายนั้นเหนื่อยล้าแล้วค่อยเข้าตีกระหนาบจากสองด้านน่าจะเอาชัยได้ จูล่งเห็นด้วยจึงแยกย้ายกันไปตั้งค่าย จัดทัพเตรียมทำตามแผน
รุ่งขึ้นซิหลงนำทัพออกมาท้ารบจูล่ง แต่จูล่งปิดค่ายมิดชิด ไม่ยอมออกมาสู้ด้วย ไม่ว่าซิหลงจะร้องท้าแค่ไหนก็ไม่ออกมา ซิหลงทนไม่ไหวจึงสั่งระดมยิงธนูเข้าไปหน้าค่าย จูล่งก็อดทนรอไว้ ฮองตงจึงเสนอว่าศัตรูระดมยิงมาแบบนี้แสดงว่าเริ่มอดทนไม่ไหว อาจจะเป็นโอกาสดีที่จะเข้าตี แล้วม้าเร็วก็มาแจ้งว่าทัพของซิหลงเริ่มหันถอนทัพกลับไป จูล่งกับฮองตงจึงสั่งให้ตีกลองโห่ร้อง แล้วนำทัพออกตีกระหน่ำทัพซิหลง ซิหลงรีบตั้งตัวเพื่อตอบโต้ แต่จูล่งกับฮองตงแบ่งทัพเป็นสองสายเข้าตีกระหนาบ ซิหลงตั้งตัวไม่ติดและต้องถอยร่นไปถึงแม่น้ำฮันซุย เสียทหารไปมากมาย ตัวของซิหลงหนีกลับเข้ามาค่ายพักได้
เมื่อมาถึงก็ต่อว่าอองเป๋งว่าทำไมจึงไม่ยกทัพออกไปช่วย อองเป๋งบอกว่าหากยกออกไปแล้ว ถ้าศัตรูลอบส่งทัพเข้ามาโจมตีค่าย แล้วใครจะป้องกัน นอกจากนี้ตัวเขาก็ได้ทัดทานซิหลงไปแล้ว จะมาว่าเขาได้ยังไง ซิหลงโกรธจัด คิดจะสังหารอองเป๋ง แต่ก็ยั้งใจไว้ อองเป๋งคิดว่าแม้เรื่องนี้เขาจะเป็นฝ่ายถูก แต่ตอนที่รายงานไปให้โจโฉ ซิหลงก็คงจะหาเหตุเล่นงานเขา นอกจากนี้ซิหลงก็เป็นทหารคนสนิทของโจโฉที่ออกรบร่วมกันมานาน ถึงอย่างไรโจโฉก็คงไม่เอาโทษนัก คนที่จะลำบากน่าจะเป็นตัวเขามากกว่า
คืนนั้นอองเป๋งจึงตัดสินใจสั่งให้ทหารตนแอบเผาค่าย ซิหลงคิดว่าเป็นแผนของข้าศึกจึงรีบถอยหนี แล้วอองเป๋งก็พาทหารตนจำนวนหนึ่งข้ามฝั่งไปสวามิภักดิ์ต่อจูล่ง
จูล่งพาตัวอองเป๋งไปเข้าพบเล่าปี่ เขาจึงแจ้งว่าตนเองเป็นผู้ที่รู้จักภูมิประเทศแถบนี้ดี ทำให้เล่าปี่ยินดีมากที่ได้ตัวอองเป๋งมา และตั้งให้เขาเป็น “เพียนเจียงกุน” (ขุนนางผู้นำทาง) และมีส่วนช่วยฝ่ายเล่าปี่ในแง่ของการข่าวสารในดินแดนแถบฮั่นจงพอสมควร แต่บทบาทนี้ไม่ได้มีบันทึกเด่นชัดในนิยายสามก๊กเท่าใดนักว่าเขาทำอะไรบ้าง แต่การที่เล่าปี่มีความยินดีที่ได้เขามาแสดงว่าอองเป๋งต้องมีความสำคัญไม่น้อยเลย
ชื่อของอองเป๋งหายไปจากสามก๊กอยู่นานก็กลับมาอีกครั้งในปีค.ศ.228 เมื่อขงเบ้งนำทัพออกศึกที่กิสานครั้งที่ 1 เพื่อตีฝ่ายวุยก๊กที่ขณะนั้นมีโจจิ๋นเป็นแม่ทัพใหญ่ การบุกก่อนหน้านั้นฝ่ายขงเบ้งตีเอาชัยชนะมาได้ตลอดทาง จนโจยอยต้องมีคำสั่งด่วนให้ตามตัวสุมาอี้มาเป็นแม่ทัพทั้งที่ยังไม่วางใจสุมาอี้นัก
ในศึกนี้ถูกเรียกว่าศึกเกเต๋ง โดยขงเบ้งได้บุกเข้าทางด้านอำเภอเกเต๋งนี้เพราะเป็นอำเภอที่อยู่ไม่ไกลจากแถบกวนจง มณฑลซานซี ซีงเมื่อเดินทัพไปทางตะวันออกไม่นานก็จะโอบหลังเข้าเมืองเตียงฮันได้ โดยขงเบ้งวางแผนที่จะเข้ายึดกวนจงเป็นฐานที่มั่น แล้วค่อยเข้ายึดตงง้วนทีหลัง
การศึกนี้โจยอยซึ่งขณะนั้นเป็นฮ่องเต้สืบต่อจากโจผี ได้นำทัพมาตั้งยันอยู่ที่เตียงฮันด้วยตัวเอง และให้โจจิ๋นเป็นแม่ทัพใหญ่ เตียวคับเป็นทัพหน้าออกศึกกับขงเบ้ง
แผนการที่ขงเบ้งวางไว้นั้นจะให้กองทัพหน้าเข้าตั้งค่ายที่เกเต๋ง ซึ่งจะใช้เป็นฐานสำคัญ ดังนั้นคนที่จะมารับหน้าที่นี้จะต้องเป็นแม่ทัพที่ไว้ใจได้ ตอนนั้นภายในทัพของจ๊กก๊กเสียแม่ทัพที่เก่งๆเช่น 5 ทหารเสือไปหมดแล้ว คนที่เก่งที่สุดที่อยู่ในตอนนั้นคืออุยเอี๋ยนซึ่งรับหน้าที่เป็นทัพเข้าจู่โจม ดังนั้นจึงต้องเลือกเอาจากคนที่เหลือ
ม้าเจ๊กทำการเสนอตัวเอง ขออาสารับงานสำคัญครั้งนี้ ซึ่งก่อนอื่นต้องเล่าเท้าความถึงม้าเจ๊กคนนี้ก่อนว่าเขาเป็นคนสนิทมือขวาของขงเบ้งที่ติดตามกันมาตั้งแต่สมัยอยู่เกงจิ๋ว ม้าเจ๊กนั้นเป็นลูกหลานของตระกูลม้าซึ่งเป็นตระกูลใหญ่ที่อยู่ในเกงจิ๋ว พี่ชายของเขาคือม้าเลี้ยงนั้นเป็นขุนนางที่มีความรู้ความสามารถ ช่วยเหลืองานบริหารในยุคที่เพิ่งตั้งจ๊กก๊กได้ดี ตัวม้าเจ๊กเองก็เป็นบัณฑิตหนุ่มที่ศึกษาหาความรู้มามากและรอบรู้ในตำราพิชัยสงครามชนิดที่ขงเบ้งยังยกย่อง
แต่ม้าเจ๊กนี้มีข้อเสียตรงที่เป็นคนอวดรู้ อาจเพราะด้วยความที่เรียนมาสูงมากจึงทำให้มีความเชื่อมั่นในตัวเองว่าเก่งกาจเหนือคนอื่นๆ จะว่าไปลักษณะแบบนี้ก็เหมือนผู้คนในยุคปัจจุบัน เมื่อลงมองดูผู้ที่ร่ำเรียนมาในระดับสูงมักจะคิดว่าตัวเองเก่งกาจและแน่กว่าใครๆ ที่จริงแล้วสำหรับทหารความเชื่อมั่นในตัวเองเป็นสิ่งที่ดี โดยเฉพาะม้าเจ๊กซึ่งเป็นนักวางแผนที่แผนการรบแต่ละครั้งย่อมส่งผลต่อชีวิตคนมหาศาล ดังนั้นหากไม่เชื่อมั่นในแผนการของตนเองแล้ว ก็ไม่อาจจะเป็นเสนาธิการที่ดีได้ แต่เพราะความมั่นใจรวมกับความที่มีคารมคมคายที่เกินพอดี ส่งผลให้เขากลายเป็นคนที่ดูโอ้อวดเกินจริง ลักษณะของเขาจะคล้ายๆกับกุนซือของวุยคนหนึ่งนั่นคือเอียวสิ้วที่มีมันสมองระดับอัจฉริยะ รอบรู้สารพัด แต่ว่าแสดงความอวดรู้มาเกินไป ซึ่งม้าเจ๊กนั้นยังหนักกว่าเอียวสิ้วตรงที่ความเชื่อมั่นเกินเหตุของเขานี้มันเป็นความเชื่อมั่นที่ผิด
มีเกร็ดน่าสนใจตรงที่ขงเบ้งเคยพาม้าเจ๊กไปเข้าเฝ้าเล่าปี่ที่เป๊กเต้เสียซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เล่าปี่ป่วยหนักใกล้ตาย ตอนนั้นเล่าปี่สั่งงานฝากฝังเรื่องราวต่างๆกับขงเบ้งและขุนนางมากมาย ขงเบ้งจึงถือโอกาสพาม้าเจ๊กเข้าเฝ้า ซึ่งขงเบ้งก็กล่าวชื่นชมในความรู้ของม้าเจ๊กมาก
แต่เล่าปี่กลับกล่าวว่าม้าเจ๊กผู้นี้ชอบพูดจาเกินจริง ไม่ควรให้ทำการใหญ่ นี่คือการวิจารณ์ของเล่าปี่ที่มีต่อม้าเจ๊กในช่วงที่ตัวเองใกล้ตาย และมันก็ถูกจริงๆซะด้วย ขงเบ้งเองก็รับฟังไว้ แต่แน่นอนว่าความชอบส่วนตัวที่มีต่อม้าเจ๊กซึ่งรักผูกพันกันมาเหมือนน้องชายนั้น ย่อมทำให้ขงเบ้งทำเป็นไม่สนใจคำเตือนของขงเบ้งนี้
ที่จริงขงเบ้งเองก็ไม่ได้ใช้ม้าเจ๊กให้ทำงานสำคัญอะไรเท่าไหร่ ส่วนหนึ่งคงจะนึกถึงคำเตือนของเล่าปี่อยู่เหมือนกัน แต่ก่อนที่จะเกิดศึกฮั่นจงนั้น ขงเบ้งได้นำทัพปราบทางใต้ ม้าเจ๊กได้เสนอแนะการโจมตีทางใจ ให้ทำการสยบพวกหมานโดยราบคาบในการยกทัพครั้งนั้น เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียเวลาและกำลังพลคอยทำการปราบพวกหมานอีก แม้ว่าหลังจากปราบเบ้งเฮ็ก ราชาของเผ่าหมานแล้วจะยังมีความไม่สงบเกิดขึ้นอยู่อีก เพราะพวกหมานบางส่วนก็ยังคงไม่ยอมสงบซึ่งตรงนี้ในนิยายและประวัติศาสตร์บันทึกไว้ต่างกัน แต่ในแง่ของหลักการและนโยบาย ถือว่าม้าเจ๊กสอบผ่าน ขงเบ้งจึงเริ่มจะเชื่อมั่นในตัวม้าเจ๊กมากขึ้น
ม้าเจ๊กเคยแสดงความน้อยเนื้อต่ำใจต่อขงเบ้งว่าพวกแม่ทัพนายกองและทหารในกองทัพยังคงไม่ยอมเชื่อมือตัวเอง เพราะถือว่าม้าเจ๊กนั้นไร้ประสบการณ์นำทัพ เขาเป็นกุนซือที่คอยวางแผนในกระโจม ไม่เคยคุมทหารออกศึกจริงมาก่อน แม้ว่าม้าเจ๊กจะอยากทำเพื่อชาติ แต่ในเมื่อทหารไม่ไว้ใจ ก็ยากจะทำได้ ตรงนี้น่าเห็นใจเพราะตัวเขาเองทางหนึ่งย่อมอยากจะสร้างชื่อ อีกทางหนึ่งก็อยากทำเพื่อบ้านเมือง ไม่ว่าจะส่วนตัวหรือส่วนรวม ม้าเจ๊กไม่อาจจะทำได้เลยเพียงเพราะเขาขาดประสบการณ์เท่านั้น เขาจึงร้องขอต่อขงเบ้งให้มอบหน้าที่สำคัญในการตั้งค่ายที่เกเต๋งนี้
ขงเบ้งย่อมอยากจะผลักดันให้ม้าเจ๊กทำงานสำคัญๆ แต่แรกเริ่มเขาไม่อยากจะมอบหมายงานนี้ม้าเจ๊ก แต่ด้วยความสนิทสนมและอยากจะผลักดันคนที่เปรียบดั่งน้องชายตนเอง จึงทำให้เขายอมมอบงานสำคัญนี้ให้ เพราะหวังว่าจะเป็นก้าวแรกให้ม้าเจ๊กสร้างความเชื่อมั่นในกองทัพ แต่ขงเบ้งกลับเลือกผิดเวลาไปหน่อย
ขงเบ้งกันพลาดด้วยการตั้งอองเป๋งเป็นรองแม่ทัพ คอยให้คำปรึกษาแก่ม้าเจ๊ก เพราะหวังว่าอองเป๋งที่มีประสบการณ์จะช่วยม้าเจ๊กได้ แต่นี่คือสิ่งที่ขงเบ้งยังไม่อาจทัดเทียมกับสามผู้นำ เล่าปี่ โจโฉ ซุนกวน ในเรื่องการมองคนและใช้งานคน
หากเป็นยุคปัจจุบัน อองเป๋งเปรียบเสมือนเจ้าหน้าที่ซึ่งมีประสบการณ์ผ่านงานจริงๆมาหลายปี หลายระดับ แต่ในเรื่องคุณวุฒิด้านการศึกษาแล้วถือว่าต่ำมาก ทำให้มีตำแหน่งการงานไม่สูงนัก ทั้งที่ทำงานสนามจริงมาหลายปี ส่วนม้าเจ๊กคือเจ้าหน้าที่หนุ่มไฟแรงที่จบการศึกษาในระดับสูง แต่ไม่เคยลงงานภาคปฏิบัติจริงๆ เคยทำแต่การสั่งงานอยู่บนโต๊ะ แต่มีตำแหน่งสูงกว่าเพราะมีคุณวุฒิสูง ลองนึกภาพคนทั้งสองดูแล้วคิดว่าม้าเจ๊กจะยอมทำตามคำแนะนำของอองเป๋งหรือเปล่า
ม้าเจ๊กนำกองทัพไปตั้งค่ายอยู่บนที่สูง โดยอ้างหลักพิชัยสงครามว่า “ตั้งอยู่บนที่สูงมองลงไป มีศักดานุภาพประดุจผ่าไม้ไผ่”
อองเป๋งทัดทานว่าไม่สมควรทำ เพราะหากค่ายถูกศัตรูล้อมรอบและตัดทางเสบียง ฝ่ายเราจะหมดทางหนีทันที แต่ว่าม้าเจ๊กไม่ฟังและยืนยันทำตามแผน
นี่คือความผิดพลาดเรื่องการใช้คนให้เหมาะกับงานของขงเบ้ง อองเป๋งเป็นคนที่มีบุคลิกเงียบขรึม ดูแล้วไม่มีความห้าวหาญในแบบแม่ทัพเลย แถมเขาไม่ใช่คนที่ติดตามเล่าปี่มาแต่ต้น แต่เป็นนายทหารที่มาสวามิภักดิ์ ผลงานก็ไม่ได้เด่นชัด ในขณะที่ม้าเจ๊กเป็นคนสนิทของขงเบ้ง ติดตามขงเบ้งมาตั้งแต่เกงจิ๋ว พี่ชายม้าเลี้ยงก็มีผลงานการบริหาร ตัวเองก็เคยเสนอแผนการปราบเผ่าหมานมาแล้ว บารมีย่อมมากกว่าอองเป๋งมากมาย จึงไม่มีทางเลยที่ม้าเจ๊กจะยอมทำตามคำแนะนำของอองเป๋ง
และก็เป็นตามที่อองเป๋งคาด ทัพฝ่ายวุยซึ่งนำโดยสุมาอี้ (ประวัติศาสตร์ว่าเป็นเตียวคับ) ยกทัพหน้าเข้ามาแบบสายฟ้า และทำการปิดล้อมค่าย ตัดทางเสบียงของม้าเจ๊กไว้ ยังดีที่อองเป๋งนำทหารซุ่มอีกกองไว้ดานนอกจึงตีฝ่าพาม้าเจ๊กหนีกลับมาได้ แต่การศึกครั้งนั้นที่ต้องเสียเกเต๋งไปก็ทำให้การใหญ่ทั้งหมดของขงเบ้งพังพินาศหมด
ม้าเจ๊กเหมาะอย่างยิ่งที่จะเป็นเสนาธิการทหารคอยให้คำแนะนำ อองเป๋งจะเหมาะมากที่จะให้เป็นนายทหารคุมกองทัพไปทำภารกิจที่ต้องอาศัยความอดทน หนักแน่น และการใช้ไหวพริบแก้สถานการณ์เฉพาะหน้า แต่ขงเบ้งกลับใช้งานทั้งคู่ในรูปแบบที่ผิดไป เหมือนที่อองเป๋งเคยเป็นที่ปรึกษาให้ซิหลงแล้วซิลงไม่เชื่อจนพ่ายศึกมาแล้ว ซึ่งเรื่องครั้งนั้นถือเป็นความผิดพลาดของซิหลงเต็มตัวที่ไม่ยอมเชื่อคำของนายทหารนำทางที่เชี่ยวชาญภูมิประเทศ ตัวโจโฉเองหากรู้ว่าที่อองเป๋งไปสวามิภักดิ์เล่าปี่ เป็นเพราะซิหลงไม่ยอมเชื่อคำอองเป๋ง เขาก็คงจะโกรธซิหลงมาก
จะเห็นว่าทั้งซิหลงและม้าเจ๊กที่ไม่เชื่ออองเป๋งนั้น ต่างอ้างหลักพิชัยสงครามขึ้นมาใช้ทั้งนั้น อองเป๋งเป็นคนที่ไม่ได้ศึกษาพิชัยสงครามมา ไม่มีอะไรจะเอาไปอ้างได้ นับว่ากรณีนี้น่าเห็นใจ
หลังจากศึกนี้เป็นต้นมา แม้ว่าจะพ่ายแพ้ แต่ฐานะของอองเป๋งก็ได้รับการยอมรับในกองทัพมากขึ้น ส่วนม้าเจ๊กก็ต้องถูกขงเบ้งประหารทั้งน้ำตา
อองเป๋งยังคงติตามขงเบ้งออกศึกกิสานทั้งหกครั้ง และเป็นหนึ่งในแม่ทัพคนสำคัญของขงเบ้ง จนกระทั่งขงเบ้งตายลง การบรารจ๊กก๊กตกอยู่ในมือของเจียวอ้วน บิฮุย และเกียงอุย สามเสาหลัก ตัวอองเป๋งได้รับหน้าที่ให้เป็นผู้ดูแลรักษาเมืองฮั่นจงแทนอุยเอี๋ยนที่ตายไป
อองเป๋งอยู่เฝ้ารักษาเมืองฮั่นจงอันเป็นหน้าด่านสำคัญที่สุดของจ๊กก๊ก โดยที่ไม่เคยปล่อยศัตรูล่วงล้ำเข้ามาได้เลยสักครั้ง นับว่าทำหน้าที่ได้อย่างไม่บกพร่อง จนเมื่อปี ค.ศ.245 เป็นเวลา 11ปีหลังจากขงเบ้งตายลง โจซองแห่งวุยคิดจะยกทัพบุกจ๊กก๊ก จึงยกทัพนับแสนมา ส่วนเมืองฮั่นจงมีทหารเฝ้าเพียงสามหมื่น ทำให้เหล่าทหารและขุนนางต่างพากันตกใจกลัว และปรึกษากับอองเป๋ง โดยคิดว่าควรจะละทิ้งเมืองฮั่นจงกลับไปตั้งรับในด่านกิก๊ก แต่อองเป๋งกล่าวว่าตอนที่พระเจ้าเล่าปี่ตั้งให้อุยเอี๋ยนดูแลเมืองฮั่นจง ได้สั่งให้อุยเอี๋ยนใช้ภูมิประเทศที่เป็นเขาสูงสลับซับซ้อนให้เป็นประโยชน์ และตลอดเวลาที่อุยเอี๋ยนเฝ้าฮั่นจง ก็ไม่เคยทำหน้าที่บกพร่องสักครั้ง ว่าแล้วอองเป๋งก็จัดทหารให้เฝ้าเมืองอย่างมั่นคง ต้านรับการบุกของโจซองอย่างสุดกำลัง ในที่สุดก็สามารถยันจนทัพหนุนจากเมืองหลวงยกมาช่วยได้ ศึกนั้นฝ่ายจ๊กก๊กจึงสามารถไล่ตีทัพวุยของโจซองจนพ่ายแพ้กลับไป
อองเป๋งเฝ้ารักษาเมืองฮั่นจงนานถึง 14 ปีโดยไม่เคยผิดพลาด และจากนั้นก็เสียชีวิตลงอย่างสงบในปี ค.ศ. 248 ตำแหน่งสุดท้ายที่เขาได้รับคือ “เจิ้นเป่ยต้าเจียงจวิน” (มหาขุนพลปราบภาคเหนือ)
นับว่าเป็นขุนพลคนสำคัญที่ช่วยปกป้องจ๊กก๊กมาได้ตลอดรอดฝั่ง โดยอาศัยไหวพริบ ประสบการณ์ และความหนักแน่นมั่นคงมากกว่าเรื่องของฝีมือการรบพุ่ง และสร้างชื่อโด่งดังติดทำเนียบขุนพลในสามก๊กยุคหลังได้ ทั้งๆที่ถูกหาว่าเป็นขุนพลที่ไม่รู้หนังสือแท้ๆ ถือว่าเป็นกรณีพิเศษสำหรับขุนพลคนหนึ่งที่ยากจะทำได้แบบนี้ นั่นทำให้เขาถูกตั้งฉายาจากสามก๊กทุกฉบับว่าเป็น “ขุนพลผู้ไม่รู้หนังสือ”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น